ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ เป็นการกำหนดสิทธิในการตัดสินใจและความรับผิดชอบ ในการส่งเสริมให้เกิดกระบวนการจัดทำ การใช้งาน และการบริหารจัดการข้อมูล รวมถึงกระบวนการที่กำหนดบทบาท นโยบาย และมาตรฐานที่ช่วยสนับสนุนให้การดำเนินงานเกี่ยวกับข้อมูลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลให้หน่วยงานสามารถบรรลุเป้าหมายได้

                จังหวัดยโสธรได้ให้ความสำคัญกับการจัดทำนโยบายธรรมาภิบาลข้อมูล เพื่อให้จังหวัดยโสธร มีนโยบายธรรมาภิบาลข้อมูล และบริหารจัดการข้อมูลอย่างเหมาะสม เพียงพอ สอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงาน ครอบคลุม โครงสร้างธรรมาภิบาลข้อมูล บทบาท และหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บริหาร หน่วยงาน และบุคลากร ที่เกี่ยวข้อง

                นโยบายธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance Policy) ประกอบด้วย 6 หัวข้อหลัก ได้แก่

                1) นโยบายธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance Policy)

                2) นโยบายคุณภาพข้อมูล (Data Quality Policy)

                3) นโยบายการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูล (Data Integration and Exchange Policy)

                4) มาตรฐานการจัดชั้นความลับข้อมูล (Data Classification Standard)

                5)นโยบายความมั่นคงปลอดภัยและความเป็นส่วนบุคคลของข้อมูล (Data Security and Privacy Policy)

                6) นโยบายการเปิดเผยข้อมูล (Open Data Policy)

ดังนั้นการกำหนดโครงสร้างธรรมาภิบาลข้อมูลเพื่อแสดงลำดับขั้นระหว่างกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับธรรมาภิบาลข้อมูล และแสดงถึงสิทธิ์ในการสั่งการตามลำดับขั้น ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย

1) คณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance Council)
2) คณะบริกรข้อมูล (Data Steward Team) และ
3) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับข้อมูล (Data Stakeholder)

ดังแสดงในภาพ