ยโสธรเมืองเกษตรอินทรีย์ เมืองแห่งวิถีอีสาน

พันธกิจของจังหวัดยโสธร
1) ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการบริหารทรัพยากรการเกษตรเป็นเกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดภัยไม่กระทบสิ่งแวดล้อมและให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น
2) สนับสนุนและผลักดันให้จังหวัดมีความโดดเด่น และชัดเจนในฐานะจังหวัดที่ดำรงความเป็นชุมชนอีสาน โดยเน้นการรณรงค์ให้ ความสำคัญกับวัฒนธรรม ค่านิยมและประเพณีอีสาน ซึ่งมีการผสมผสานกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมสมัยใหม่อย่างกลมกลืน ขยายโอกาสด้านอุดมศึกษาในจังหวัด
3) ผลักดันให้ภาคประชาสังคมมีการดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิภาพ


จุดเน้นทางยุทธศาสตร์ (Positioning) จังหวัด
        1) เมืองเกษตรอินทรีย์
        2) เมืองท่องเที่ยว
        3) เมืองวิถีอีสาน


เป้าหมายการพัฒนาจังหวัด
        1) ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด (GPP) เพิ่มขึ้น
        2) ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีเพิ่มขึ้น

ประเด็นและแนวทางการพัฒนาจังหวัด
ประเด็นการพัฒนาที่ 1 : ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ครบวงจรและได้มาตรฐาน
วัตถุประสงค์ : เพื่อเพิ่มผลผลิตและสินค้าเกษตรอินทรีย์ได้มาตรฐานและเพิ่มมูลค่า
เป้าหมายและตัวชี้วัด :
        1) พื้นที่การทำเกษตรอินทรีย์ (เพิ่มขึ้นเป็น 380,000 ไร่ ในปี 2565) (ข้อมูลปี 2560 จำนวน 134,000 ไร่) และข้อมูลปี 2562 มีพื้นที่เพิ่มขึ้นเป็น 333,703.43 ไร่
        2) จำนวนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ที่ได้มาตรฐานเพิ่มขึ้น (4 ชนิด/ปี)
        3) ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของมูลค่าการจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ (ร้อยละ 2.5/ปี)
        4) ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของฟาร์มที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน (ร้อยละ 2.5/ปี)
แนวทางการพัฒนา :
        1) สร้างกระแสการรับรู้และการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์และเศรษฐกิจพอเพียง
        2) ขยายพื้นที่เกษตรอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในพื้นที่เต็มศักยภาพ
        3) เพิ่มความสามารถในการรับซื้อและส่งเสริมการแปรรูป เพิ่มมูลค่าการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์
        4) เพิ่มตลาดและช่องทางการจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ


ประเด็นการพัฒนาที่ 2 : ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม ประเพณีและการค้า การท่องเที่ยว
วัตถุประสงค์ : เพื่อส่งให้ประชาชนมีอาชีพและมีรายได้เพิ่มขึ้น
เป้าหมายและตัวชี้วัด :
        1) ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของรายได้จากการท่องเที่ยว (ร้อยละ 4/ปีในปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3/ปี)
        2) ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของมูลค่าการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP (ร้อยละ 4/ปี)
        3) จำนวนการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีของท้องถิ่น (เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 10 ครั้ง/ปี)
แนวทางการพัฒนา :
        1) ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมประเพณีวิถีอีสาน
        2) ส่งเสริมและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์
        3) ยกระดับและพัฒนาศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานการท่องเที่ยวและการบริการ

ประเด็นการพัฒนาที่ 3 : ยกระดับคุณภาพชีวิต เสริมสร้างความเข้มแข็งและความมั่นคงของครอบครัว ชุมชน และสังคม
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคงและสังคมมีความสงบเรียบร้อย
เป้าหมายและตัวชี้วัด :
        1) ร้อยละของเด็กและเยาวชนได้รับการเรียนรู้พัฒนาทักษะชีวิต (ร้อยละ 98 ต่อปี)
        2) จำนวนหมู่บ้าน/ชุมชนมีแหล่งเรียนรู้/ชุมชนต้นแบบยโสธรโมเดล (เพิ่มขึ้นปีละ 36 หมู่บ้าน/ปี)
        3) ร้อยละของครัวเรือนยากจนที่มีรายได้ผ่านเกณฑ์ จปฐ. 38,000 บาท/คน/ปี (ร้อยละ 95 ต่อปี)
        4) จำนวน อปท. ที่ได้จัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชน (ดูแลสวัสดิการผู้ด้อยโอกาส) (เพิ่มขึ้น 10 แห่ง/ปี)
        5) ร้อยละการยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ (ร้อยละ 30/ปี)
        6) ร้อยละของการยกระดับคุณภาพชีวิตด้านที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมปลอดภัย (ร้อยละ 30/ปี)
        7) ร้อยละของจำนวนหมู่บ้าน/ชุมชนปลอดยาเสพติด(สีขาว) ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงาน ป.ป.ส. กำหนด (เพิ่มขึ้นร้อยละ 2/ปี)
        8) จำนวนร้อยละที่ลดลงของการเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนน/ประชากร 100,000 คน (ลดลงร้อยละ 8/ปี)
        9) ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของค่าเฉลี่ย O-Net ม.๓ (ร้อยละ 3.5/ปี)
        10) ร้อยละของเด็กอายุ 0 – 5 ปี ทั้งหมดตามช่วงอายุที่กำหนดพัฒนาการสมวัย (ค่าเป้าหมาย 85%)
        11) ร้อยละของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการคัดกรองแล้วพบว่ามีพัฒนาการล่าช้าได้รับการกระตุ้นพัฒนาการด้วยเครื่องมือมาตรฐาน (ค่าเป้าหมาย 65%)
        12) ผู้ผ่านการฝึกอาชีพในสาขาที่เข้าฝึกอบรมสามารถประกอบอาชีพอิสระ ร้อยละ 10
แนวทางการพัฒนา :
        1) ยกระดับคุณภาพชีวิตลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเสริมสร้างชุมชนสู่ความเข้มแข็ง
        2) เพิ่มศักยภาพในการรักษาความมั่นคงภายในและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
        3) ยกระดับมาตรฐานการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ
        4) ยกระดับคุณภาพชีวิตเพื่อเพิ่มโอกาสและทางเลือกในการประกอบอาชีพ
        5) พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพเด็กปฐมวัย

ประเด็นการพัฒนาที่ 4 : อนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนา ทรัพยากรธรรมชาติ และละสิ่งแวดล้อม
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟูเพิ่มขึ้น
เป้าหมายและตัวชี้วัด :
        1) จำนวนพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์จากการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ (10,000 ไร่/ปี)
        2) จำนวนพื้นที่แหล่งน้ำได้รับการพัฒนาและมีผลผลิตสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น (5,000 ไร่/ปี)
        3) จำนวนพื้นที่ป่าไม้และที่ดินของรัฐได้รับการปกป้องบำรุงรักษาและ ปลูกต้นไม้ฟื้นฟูสภาพป่า (13,000 ไร่/ปี)
        4) ชุมชน/หมู่บ้านมีการลดขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายชุมชนตั้งแต่ต้นทาง (เพิ่มขึ้นร้อยละ 80/ปี ในปี 2565)
        5) ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของการใช้พลังงานทดแทน (ร้อยละ 0.5/ปี)
แนวทางการพัฒนา :
        1) เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ
        2) เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
        3) เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการพลังงาน
        4) สร้างขีดความสามารถด้านบริหารจัดการ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ