ไม้ยางนา Dipterocarpus alatus Roxb.

  • ต้นไม้ประจำ : จังหวัดยโสธร
    ชื่อพันธุ์ไม้ : ไม้ยางนา
    ชื่อพ้อง : (Synonyms)
    ชื่อการค้า(Trade  name) :Yang , Gurjan or Garjan
    ชื่อวงศ์(Family) : DIPTEROCARPACEAE
    ชื่ออื่น : ชื่อพื้นเมือง(Common  name)ยาง ยางขาว ยางแดง ยางหยวก ยางแม่น้ำ ( ทั่วไป) กาตีล( เขมร- กบินทร์บุรี ปราจีนบุรี) ขะยาง( ชาวบน- นครราชสีมา) เคาะ( กะเหรี่ยง) จะเตียล( เขมร- ศรีสะเกษ) จ้อง( กะเหรี่ยง) ชันนา( หลังสวน- ชุมพร) ทองหลัก( ละว้า- กาญจนบุรี) ยางกุง( เลย) ยางควาย( หนองคาย) ยางใต้( กบินทร์บุรี ปราจีนบุรี) ยางเนิน( จันทบุรี) เยียง( เขมร- สุรินทร์) ร่าลอย( ส่วย- สุรินทร์) ลอยด์( โซ้- นครพนม) เหง( ลื้อ)

    การกระจายพันธ์ตามธรรมชาติ(Distribution and habitat) :ชอบขึ้นเป็นกลุ่มตามที่ราบริมลำธาร ในป่าดิบทั่วไป ที่มีดินลึกและอุดมสมบูรณ์ มีความชื้นสูง ในระดับสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 200- 600 เมตร โดยปกติจะพบไม้ยางนาในป่าดิบแล้ง ในประเทศไทยจะพบไม้ยางนาขึ้นอยู่ทุภาคทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้
    ลักษณะทางด้านพฤกษศาสตร์(Botanical  description) :
    ลำต้น (Stem) ยางนาเป็นไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ ใบแก่จะร่วงหลุดไปใน ขณะเดียวกับที่มีการแตกใบใหม่มาทดแทน ลำต้นเปลา ตรง เมื่อโตเต็มที่จะมีความสูง ประมาณ 30 –40 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่ม กลมหนา ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขน และมีรอยแผลใบเห็นชัด
    เปลือก (Bark) เรียบหนา สีเทาปนขาว โคนมักเป็นพูพอน
    ใบ (Leaf) เป็นใบเดี่ยว(simple leaf) ติดเรียงเวียน สลับ (spirate) ทรงใบรูปไข่แกมรูปขอบขนาน(elliptical – oblong) ขนาดกว้าง 8 – 15 ซ. ม. ยาว 20 –35 ซ. ม. โคนใบ มนกว้างๆ ปลายใบสอบทู่ๆ เนื้อใบหนา ใบอ่อนมีขนสีเทา ปกคลุม ใบแก่จะผิวเกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง เส้นแขนงใบ ตรงและขนานกัน มี 14 – 17 คู่ เส้นใบย่อยแบบเส้นขั้น บันได เห็นชัดทางด้านท้องใบ ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น เล็กน้อย ก้านใบยาวประมาณ 4 ซ. ม. มีขนบ้างประปราย
    ดอก (Flower) เป็นแบบดอกช่อ (inflorescence flower) แบบ panicle สีชมพู ออกเป็นช่อเดี่ยวสั้นๆ ตามง่ามใบตอนปลายๆกิ่ง การเกิดช่อดอกจะเกิดพร้อมกันกับการแตกใบอ่อน ช่อหนึ่งมีหลายดอก โดยโคนกลีบฐานเชื่อมกันเป็นรูปถ้วยและมีครีบตามยาว 5 ครีบ ปลายถ้วยแยกเป็น5 แฉก ยาว 2 แฉกและสั้น 3 แฉก มีขนสั้นๆสีน้ำตาลปกคลุมทั่วไป กลีบดอกมี 5 กลีบ โคนกลีบชิดติดกัน ส่วนปลายกลีบจะบิด เวียนกันในทิศตามเข็มนาฬิกา เกสรผู้มีประมาณ 29 อัน รังไข่รูปรีๆภายในแบ่งเป็น 3 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน 2 หน่วย
    ผล (Fruit) เป็นผลเดี่ยว (simple fruit) ชนิดผล แห้ง (dry fruit) ที่แก่แล้วไม่แตก(indehiscent fruit) แบบ samara รูปร่างกลม เป็นครีบตามยาว 5 ครีบ มีปีกยาว 2 ปีก ยาว 10 – 12 ซ. ม. เส้นปีกตามยาวมี 3 เส้น ปีกสั้น รูปหูหนู 3 ปีก มีเมล็ดเดียว
    เมล็ด (Seed) มีรูปร่างกลมรีปลาย
    ด้านหนึ่งแหลมอีกปลายด้านหนึ่ง
    ป้าน ขนาดยาวประมาณ 1 ซ.ม กว้างประมาณ 0.5 ซ.ม.
    ขยายพันธุ์ : ปกตินิยมใช้ผลเพื่อการขยายพันธ์ ผลหรือเมล็ดที่เหมาะในการนำมาเพาะ คือช่วงที่ผลเปลี่ยนสีจาก สี
    เขียว มาเป็นสีน้ำตาลอ่อน ควรเก็บจากต้นไม่ควร เก็บผลที่ร่วงหล่น เพราะผลยางนาจะสูญเสีย ความชื้น
    ในผล อย่างรวดเร็ว พบว่าหากความชื้นในผลน้อยกว่า 30 %แล้วเมล็ดจะตายหรือมีเปอร์เซ็นต์การงอก
    การออกดอกและการติดผล(Flowering  and fruiting habit) : น้อยมาก ดังนั้นเมื่อเก็บผลจากต้นแล้วควรรีบทำการเพาะทันที โดยตัดปีก และเพาะในวัสดุเพาะที่เป็นขี้เถ้าแกลบ รดน้ำให้ชุ่มจะงอกได้ภายใน 5 – 6 วัน มีช่วงระยะเวลาการงอกไม่เกิน 1 เดือน
    การใช้ประโยชน์(Usability) :เนื้อไม้ (wood) ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนและการก่อสร้างทั่วไป ทำเรือ
    ขุด เรือ ขนาดเล็ก ทำหีบ ถังใส่ปูนซิเมนต์ เครื่องเรือน ใช้ทำพื้น ฝา เพดาน รอด ตง แจว พาย กรรเชียง ตัวถังเกวียน เมื่ออาบน้ำยาโดยถูกต้องจะมีความทนทานดีขึ้น สามารถใช้งานได้ คงทนถาวรและใช้ทำไม้หมอนรองรถไฟได้ดี ทำ
    ไม้ฟืน (wood fuel) ให้ค่าความร้อน 4,810 แคลลอรี่/ กรัม
    ถ่านไม้ (Charcoal) ให้ค่าความร้อน 6,055 แคลลอรี่/ กรัม
    น้ำมัน ที่ได้จากการเจาะต้นใช้ทาไม้ ยาแนวเรือ ทาเครื่องจักสาน ทำไต้ ใช้เดินเครื่องสรรพคุณทางยา :
    เปลือกต้น รสฝาดเฝื่อนขม ต้มดื่มแก้ตับอักเสบ บำรุงร่างกาย ฟอกโลหิต ใช้ทาถูนวด แก้ ปวดตามข้อ
    เมล็ด ใบ รสฝาดร้อน ต้มใส่เกลืออมแก้ปวดฟัน ฟันโยกคลอน
    ใบและยาง
     รสฝาดขมร้อน รับประมานขับเลือด ตัดลูก( ทำให้เป็นหมัน)
    น้ำมันยาง รสร้อนเมาขื่น ทาแผลเน่าเปื่อย แผลมีหนอง แผลโรคเรื้อน รับประทานกล่อม เสมหะ ห้ามหนอง ใช้แอลกอฮอล์ 2 ส่วนกับน้ำมันยาง 1 ส่วน รับประทานขับปัสสาวะ รักษาแผลทางเดินปัสสาวะ แก้มุตกิดระดูขาว แก้โรคทาง
    เดินปัสสาวะ จิบขับเสมหะ ผสม เมล็ดกุยช่ายคั่วให้เกรียม บดอุดฟันแก้ฟันผุ
    น้ำมันยางดิบ
     รสร้อนเมาขื่น ถ่ายหัวริดสีดวงทวารหนักให้ฝ่อ ถ่ายสภาพที่เหมาะสม : สภาพดินทุกชนิด กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
    ถิ่นกำเนิด : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

ข้อมูจาก : สำนักงานจังหวัดยโสธร