ที่ตั้งและอาณาเขต
จังหวัดยโสธรตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ระหว่างเส้นแวงที่ 104 และ 105 องศาตะวันออก และเส้นรุ้งที่ 15 และ 16 องศาเหนือห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยทางรถยนต์ประมาณ 531 กิโลเมตร (ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1, 2, 202) จังหวัดยโสธรมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ดและมุกดาหาร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดอำนาจเจริญและอุบลราชธานี
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดศรีสะเกษ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ด
ขนาดพื้นที่ จังหวัดยโสธรมีพื้นที่ 4,161.664 ตารางกิโลเมตรหรือ 2,601,040 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.81 ของพื้นที่ทั่วประเทศ (321 ล้านไร่) และคิดเป็นร้อยละ 12.89 ของพื้นที่กลุ่มจังหวัด (อุบลราชธานี ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และยโสธร)
ตารางแสดงจำนวนพื้นที่จังหวัดยโสธร และระยะทางจากอำเภอสู่ตัวจังหวัดยโสธร (รายอำเภอ)
ที่ | อำเภอ | พื้นที่ | ระยะทาง (กม.) | |
ไร่ | ตร.กม. | |||
1 | เมืองยโสธร | 361,387.50 | 578.220 | – |
2 | เลิงนกทา | 589,250.00 | 942.800 | 69 |
3 | คำเขื่อนแก้ว | 399,000.00 | 638.400 | 23 |
4 | มหาชนะชัย | 284,542.50 | 455.268 | 41 |
5 | กุดชุม | 340,000.00 | 544.000 | 37 |
6 | ป่าติ้ว | 192,500.00 | 308.000 | 27 |
7 | ค้อวัง | 93,750.00 | 150.000 | 70 |
8 | ทรายมูล | 170,485.00 | 272.776 | 17 |
9 | ไทยเจริญ | 170,125.00 | 272.200 | 52 |
รวม | 2,601,040.00 | 4,161.664 |
ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ
จังหวัดมีพื้นที่เป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว อยู่เหนือระดับน้ำทะเลประมาณ ๒๒๗ ฟุต สภาพภูมิประเทศลาดเอียงจากทิศตะวันตกลงไปทางทิศตะวันออก พื้นที่ทางตอนเหนือส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงภูเขาสลับกับพื้นที่ (ลำน้ำมูล) ไหลผ่านทางตอนเหนือและตอนกลาง ส่วนพื้นที่ทางตอนกลางและตอนใต้เป็นที่ราบลุ่มต่ำสลับซับซ้อน กับสันดินริมน้ำ มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ได้แก่ แม่น้ำชี และขนาดกลาง ได้แก่ ลำน้ำยัง ลำทวน (ลุ่มน้ำชี) ไหลผ่านจังหวัด ลักษณะดินส่วนมากเป็นดินปนทรายและดินเค็ม มีหนอง บึง ลำห้วย และแหล่งน้ำขนาดเล็กอยู่ทั่วไป พื้นที่แหล่งน้ำอยู่ในลุ่มน้ำชี และลุ่มน้ำมูล สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปขึ้นอยู่กับอิทธิพลของมรสุมที่พัดประจำฤดูกาล ๒ ชนิด คือ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะพัดพามวลอากาศเย็นและแห้งจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยในช่วงฤดูหนาว ทำให้จังหวัดยโสธรมีอากาศหนาวเย็นและแห้งทั่วไป กับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งพัดพามวลอากาศชื้นจากทะเลและมหาสมุทรปกคลุมประเทศไทยในช่วงฤดูฝนทำให้มีฝนตกทั่วไป ฤดูกาลจังหวัดยโสธรมี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ปริมาณฝนเฉลี่ยตลอดปีอยู่ระหว่าง 1,100 – 1,300 มิลลิเมตร สำหรับปริมาณฝนเฉลี่ยตลอดทั้งปี 1,360.4 มิลลิเมตร และมีจำนวนวันที่ฝนตก 112 วัน โดยเดือนสิงหาคมเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกมากที่สุดในรอบปี มีปริมาณฝนเฉลี่ย 262.7 มิลลิเมตร และมีฝนตก 19 วัน โดยอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปี 27.2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 22.8 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 32.6 องศาเซลเซียส และเดือนเมษายนเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนอบอ้าวมากที่สุดในรอบปี ส่วนในช่วงฤดูหนาวจะมีอากาศหนาวที่สุดในเดือนมกราคม
จากสถิติในคาบ 71 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2494 – 2564 พบว่า พายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนตัวผ่านจังหวัดยโสธรมี ทั้งหมด 14 ลูก โดยเคลื่อนเข้ามาขณะที่มีกำลังแรงเป็นพายุโชนร้อนในเดือนกันยายน จำนวน 1 ลูก (2563) นอกจากนั้นเคลื่อนเข้ามาขณะที่มีกำลังแรงเป็นพายุดีเปรสชัน จำนวน 13 ลูก โดยเคลื่อนเข้ามาในเดือนมิถุนายน 1 ลูก (2547) เดือนกันยายน 4 ลูก (2522,2525,2556,2559) เตือนตุลาคม 6 ลูก (2504,2506,2510,2513,2532,2549) และเดือนพฤศจิกายน 2 ลูก (2527,2539)
หมายเหตุ – สถิติภูมิอากาศที่เป็นค่าเฉลี่ยข้อมูลอุณหภูมิและปริมาณฝน (อ้างอิง สถานีอุตุนิยมวิทยาร้อยเอ็ด) คาบ 30 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2534 – 2563
– สถิติภูมิอากาศที่มีค่าเป็นที่สุดใช้ข้อมูล ตั้งแต่ พ.ศ. 2494 – 2564
การปกครอง
การปกครองท้องที่ จังหวัดยโสธรแบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอเมืองยโสธร อำเภอเลิงนกทา อำเภอไทยเจริญ อำเภอกุดชุม อำเภอทรายมูล อำเภอป่าติ้ว อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัยและอำเภอค้อวัง โดยมี 78 ตำบล และ 885 หมู่บ้านโดยมีชุมชนในเขตเทศบาลเมืองยโสธร จำนวน ๒๓ ชุมชน
การปกครองท้องถิ่น จังหวัดยโสธรมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 รูปแบบจำนวน 88 แห่ง ประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลเมือง 1 แห่ง เทศบาลตำบล 23 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 63 แห่ง
ตารางแสดงจำนวนตำบล หมู่บ้าน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปี พ.ศ. 2565
ที่ | อำเภอ | จำนวน | ||||||
ตำบล | หมู่บ้าน | อบจ. | เทศบาลนคร | เทศบาลเมือง | เทศบาลตำบล | อบต. | ||
1 | เมืองยโสธร | 17 | 190 | 1 | – | 1 | 5 | 12 |
2 | เลิงนกทา | 10 | 145 | – | – | – | 9 | 3 |
3 | คำเขื่อนแก้ว | 13 | 115 | – | – | – | 2 | 12 |
4 | มหาชนะชัย | 10 | 103 | – | – | – | 1 | 10 |
5 | กุดชุม | 9 | 128 | – | – | – | 1 | 9 |
6 | ป่าติ้ว | 5 | 57 | – | – | – | 1 | 5 |
7 | ค้อวัง | 4 | 45 | – | – | – | 1 | 4 |
8 | ทรายมูล | 5 | 54 | – | – | – | 2 | 4 |
9 | ไทยเจริญ | 5 | 48 | – | – | – | 1 | 4 |
รวม | 78 | 885 | 1 | – | 1 | 23 | 63 |
ประชากร
ในปี 2566 จังหวัดยโสธรมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 528,878 คน เป็นชาย 263,199 คน หญิง 265,679 คน
ตารางแสดงประชากรจังหวัดยโสธร ปี พ.ศ. 2560 – 2566
พ.ศ. | เพศชาย (คน) | หญิง (คน) | รวม (คน) |
2560 | 270,412 | 269,130 | 539,542 |
2561 | 269,705 | 269,024 | 538,729 |
2562 | 268,774 | 268,525 | 537,299 |
2563 | 276,016 | 267,484 | 534,500 |
2564 | 265,945 | 267,449 | 533,394 |
2565 | 264,756 | 266,843 | 531,599 |
2566 | 263,199 | 265,679 | 528,878 |
2567 (ณ สิงหาคม 2567) | 261,806 | 264,284 | 526,090 |
จำนวนบ้านจากทะเบียนบ้าน จังหวัดยโสธรมีจำนวนบ้านจากทะเบียนบ้านในปี พ.ศ. 2565 จำนวน 183,618 หลัง โดยข้อมูลจากปี พ.ศ. 2560 – 2566 จำนวนบ้านมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ตารางแสดงจำนวนบ้านจากทะเบียนบ้าน ปี พ.ศ. 2560 – 2566
พ.ศ. | 2560 | 2561 | 2562 | 2563 | 2564 | 2565 | 2566 |
จำนวนบ้าน | 167,346 | 169,918 | 172,417 | 175,666 | 179,229 | 183,618 | 186,684 |
ข้อมูลเพิ่มเติม…